วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบIPV6

1. IP Address มีชื่อเต็มว่า
ก. Internet Protocall Address
ข. Internet Protocol Address
ค. Internat Protocall Address
ง. Internets Protocol Address

2. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน

3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
ก. IPv1
ข. IPv2
ค. IPv3
ง. IPv4

4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต

6. ข้อใดผิด
ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)

7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
ค. เพราะมีรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง
ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก

8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ

9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
ง. ถูกต้องทุกข้อ

11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. PIT
ข. RIR
ค. LPG
ง. PLI

12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
ก. mont
ข. IP Address
ค. toryt
ง. fopbfor

13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
ก. 36 บิต
ข. 32 บิต
ค. 45 บิต
ง. 40 บิต

14.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ

15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ค. 3 ประเภท
ข. 2 ประเภท ง. 4 ประเภท

16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
ก. 10 ไบท์
ข. 11 ไบท์
ค. 13 ไบท์
ง. 16 ไบท์

17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
ก. แบบลำดับชั้น
ข. แบบผสม
ค. แบบต่อเนื่อง
ง. แบบล่าง

18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
ก. RIPL MCC
ข. RIPE NCC
ค. RIPT ACC
ง. RIPG TCC

19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
ก. แบบอัตโนมัติ
ข. แบบถาวร
ค. แบบชั่วคราว
ง. แบบต่อเนื่อง

20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

21.หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ

22.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ

23. RIR ย่อมาจาก
ก.(Regional Internet Registrey)
ข.(Regional Internet Registreey)
ค.(Regional Internet Registessy)
ง.(Regional Internet Registry)

24.เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4

25.ข้อใดคือชื่อ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น IPV4
ก.IP Address
ข.IPV1
ค.IPV2
ง.IPV3

26. การใช้งาน IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันหรือที่เรียกว่าอะไร
ก. Fual stack
ข. Bual stack
ค. Eual stack
ง. Dual stack

27.IPV6 ถูกเริ่มใช้ที่ไหนก่อน
ก. ทวีปเอเชียและยุโรป
ข. ทวีปอเมริกาเหนือ
ค. ทวีปอเมริกาใต้
ง. ไม่มีข้อถูก

28. IPV6 จะประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนเท่าไร
ก. 128 bit
ข.127 bit
ค.126 bit
ง.125bit

29. IPv6 เพิ่มอะไร เพื่อที่จะบังคับขนาดของแพ็ตเก็ต IPv6 เท่านั้น
ก. molder
ข. Sracrer
ค. Hear
ง. Headers

30. ใน IPv6 header อนุญาตให้อะไรทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล
ก.Router
ข.Routerse
ค.Routeredse
ง. Routeree

เฉลย
1. ข .......10. ง ..........19. ก .........28. ก
2. ค .......11. ข.......... 20. ค........ 29. ง
3. ง ....... 12. ข .........21. ค......... 30. ก
4. ก ........13. ข......... 22. ง
5. ค ........14. ง......... 23. ง
6. ก ........15 ค ..........24. ค
7. ง .........16. ง .........25. ก
8. ข .........17. ก........ 26. ง
9. ค .........18. ข........ 27. ก

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำสั่งเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร

1. telnet ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ แต่ ปัจจุบัน server ต่าง ๆ ปิดบริการ telnet แต่เปิด SSH แทน
2. ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server)ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก
3. lynx เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ซึ่งทำงานด้วยข้อความล้วน ๆ ไม่สามารถแสดง รูปภาพได้ เริ่มต้นใช้งานด้วยการล้อกอินเข้าระบบด้วยยูสเซอร์
4. mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminalmesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
5. ping เป็นคำสั่งพื้นฐานในการตรวจสอบการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องส่งและ เครื่องรับ โดยจะส่งข้อมูลหรือแพ็คเกจขนาด 32K
6. write คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้นรูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้นตัวอย่าง write m2k
แหล่งที่มาคำสั่ง UNIX ที่ควรทราบคำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ...puffer.sru.ac.th/OpenBSD/command - 65k

คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเซส

1. Ps
2. kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)รูปแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย
3. fg
4. bg
5. jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)รูบแบบการใช้งาน jobsตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

คำสั่งสำรองข้อมูล

1.คำสั่ง tarทำหน้าที่ขยายไฟล์แอพพลิเคชั่นและชุดแพคเกจรูปแบบการใช้งาน tar <พารามิเตอร์> <ไฟล์>ตัวอย่าง tar -xvf test.tarจัดเก็บไฟล์ให้รวมกันไว้ที่เดียว
2.คำสั่ง gzipทำหน้าที่บีบอัดไฟล์รูปแบบการใช้งานgzip <พารามิเตอร์> <ไฟล์ > <พารามิเตอร์>ตัวอย่างการใช้gzip star.txt star.zip filename.tar.gz ใช้ unzip ไฟล์ผลที่ได้จะเป็น filename.tar
3.คำสั่งgunzip คือขยายไฟล์ที่บีบไว้รูปแบบการใช้งานgunzip <พารามิเตอร์> <ไฟล์ > <พารามิเตอร์>ตัวอย่างการใช้งานgunzip star.zip

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์

1. ls : ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home direct
2. cd : เป็นคำสั่งที่ใช้เปลี่ยนไปยังไดเรคทอรีย่อยของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่ต้องการ
3. file :
4. pwd : แสดง directory ที่เราอยู่ปัจจุบัน
5. Mv : ใช้ในการย้ายที่อยู่ (Move) หรือเปลี่ยนชื่อ (Rename) ไฟล์หรือ ไดเรคเทอรี. รูปแบบการใช้งาน
6. MKdir : คำสั่งนี้เป็นคำสั่งในการสร้าง directory ขึ้นมา
7. Rm : เป็นคำสั่งที่ใช้ลบข้อมูล file ข้อมูล เกิดได้หลายกรณี เช่น เกิดจากการ ftp ขึ้นมาวางไว้
8. Rmdir : เป็นคำสั่งสำหรับการลบไดเร็คทอรี่ รูปแบบ: rmdir directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
9. Chown : ใช้สำหรับเปลี่ยนเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory. โครงสร้างคำสั่ง. chown [ option]... owner[:group] file หรือ. chown [option]... :group file
10. Cgrp : ใช้สำหรับเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory โครงสร้างคำสั่ง

VM คืออะไร

- สำหรับการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น e-Government ที่มีการดำเนินงานและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็ว เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานในทุกระดับควรมีการพัฒนาเทคนิค สร้างเสริมความรู้ประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาระบบต่างๆให้สามารถรองรับการให้บริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป หัวข้อ IT Trip ของ GITS Newsletter ฉบับนี้ จะขอแนะนำโปรแกรมที่ชื่อว่า VMWare ซึ่งคิดว่าหลายๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกันดี แต่สำหรับอีกหลายๆท่านก็อาจจะไม่ทราบว่าโปรแกรม VMWare นี้คืออะไร มีประโยชน์กับผู้ใช้ระบบ IT อย่างเราๆ อย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับมันซักหน่อยดีกว่าครับ เผื่อท่านอาจจะได้ไอเดียอะไรดีดีในการใช้โปรแกรมนี้ เพื่อนำไปพัฒนาระบบหรือพัฒนาตัวเองต่อไป

รูปที่ 1 เว็บไซต์ของ VMWare


การใช้โปรแกรม vmware และ Adobe Captivate 3.0

การสร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นใหม่
- การสร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นด้วยโปรแกรม VMware จะเริ่มจากการใช้เมาส์คลิ้กที่ไอคอน New Virtual Machine จากนั้นดำเนินการตามคำแนะนำใน VMware Virtual Machine ที่ปรากฏขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Select the Application Configuration จะเป็นการเลือกลักษณะการจัดทำ Virtual Machine ซึ่งมี 3 แบบ คือ
- Typical หมายถึง ให้โปรแกรมกำหนดค่าต่างๆ ให้
- Customer หมายถึง เราต้องการกำหนดองค์ประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์จำลองด้วยตนเอง
- VMware Guest OS Kit หมายถึง ให้โปรแกรมดำเนินการกำหนดค่าต่างๆ ไปพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงในคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น
สำหรับขั้นตอนนี้แนะนำให้เลือกที่ Typical จะสะดวกกว่าแบบอื่นๆ
ขั้นตอนที่ 2 Select a Guest Operating System จะเป็นการเลือกระบบปฏิบัติการ ที่จะใช้กับคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น โดยเลือกจากดร็อปดาวน์ลิสต์ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้
ขั้นตอนที่ 3 Name the Virtual Machine เป็นการกำหนดชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้ชื่อที่โปรแกรมกำหนดไว้ให้เลย
ขั้นตอนที่ 4 Select a Network Connection เป็นขั้นตอนในการกำหนดวิธีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยจะมี 4 ตัวเลือก คือ
- Use bridge Networking ใช้ในกรณีที่เราต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยใช้ IP address ของคอมพิวเตอร์จำลองเอง
- Use network address translation (NAT) ใช้ในกรณีที่เราต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยใช้ IP address เดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ที่สร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้น
- Use host-only network ใช้ในกรณีที่เราต้องการให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย (server) และคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้นเป็นเครื่องลูกข่าย (client)
- Do not use a network connection ใช้ในกรณีที่เราไม่ต้องการให้คอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้นเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ
หลังจากที่เราเลือกวิธีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้ว เมื่อใช้เมาส์คลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Finish ของ Wizard โปรแกรม VMware จะทำการจัดองค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์จำลองให้เราอัตโนมัติ ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างๆ ปรากฏบนหน้าจอของโปรแกรม ดังตัวอย่างในรูปที่ 4



รูปที่ 4 รายละเอียดของคอมพิวเตอร์จำลองที่ถูกสร้างขึ้น

รูปที่ 5 สามารถแก้ไของค์ประกอบต่างๆ เองได้

- สำหรับองค์ประกอบเหล่านี้ เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยใช้เมาส์คลิ้กที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่เราจะแก้ไข แล้วเลือกที่หัวข้อ Settings และ Configuration Editor จากเมนูหลักของ VMware ตามลำดับ โปรแกรมจะเตรียมเอดิเตอร์ให้เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ดังตัวอย่างในรูป 5
การติดตั้งระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์จำลอง ผมจะขออนุญาตนำลีนุกซ์ทะเล 4.0 ซึ่งพัฒนาโดยเนคเทค มาเป็นตัวอย่าง โดยจะเป็นการติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 บนวินโดวส์ 2000 โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์จำลองที่ได้จาก VMware for Windows โดยมีวิธีดังนี้



รูปที่ 6 ภาพระหว่างการติดตั้งโอเอสบนคอมพิวเตอร์จำลอง


รูปที่ 7 การใช้งานลีนุกซ์บนวินโดวส์ 2000 ผ่านทางโปรแกรม VMware

เริ่มจากทำการสร้างคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับลีนุกซ์ขึ้นบนโปรแกรม VMware
เมื่อดำเนินการเสร็จ นำซีดีชุดติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 ใส่ในเครื่องอ่านของคอมพิวเตอร์ จากนั้นใช้เมาส์คลิ้กเลือกที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับลีนุกซ์บนโปรแกรม VMware ที่เราเตรียมไว้
ต่อไปก็ใช้เมาส์คลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Power On เพื่อทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์จำลองก็จะทำการบูตเครื่องตามลำดับ เหมือนกับตอนที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ พร้อมกับโหลดโปรแกรมดำเนินการติดตั้งของลีนุกซ์ทะเลขึ้นมาทำงาน จากนั้นก็ดำเนินการติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 ตามลำดับที่โปรแกรมกำหนด จนกว่าการติดตั้งจะเสร็จสมบูรณ์


การบูตคอมพิวเตอร์จำลอง
- จากตัวอย่างข้างต้น หลังจากที่ติดตั้งลีนุกซ์ทะเลเสร็จ คอมพิวเตอร์จำลองของเราจะถูก reboot และเข้าสู่ลีนุกซ์ทะเลทันที เนื่องจากว่าบน คอมพิวเตอร์จำลองของเรามีระบบปฏิบัติการเพียงแบบเดียว ส่วนในกรณีที่เราเปิด VMware ขึ้นมาทำงานใหม่ๆ และต้องการบูตคอมพิวเตอร์จำลองที่เราลงระบบปฏิบัติการไว้แล้วขึ้นมาทำงาน ก็เพียงแค่ใช้เมาส์คลิ้กเลือกที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่ต้องการจะบูต แล้วมาคลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Power On ของแถบเครื่องมือของ VMware ตามลำดับ


การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จำลอง
- การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จำลอง จะมีวิธีการเหมือนกับการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือ เราต้องทำการ shutdown ตัวระบบปฏิบัติการก่อน ซึ่งกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะทำการปิดบริการต่างๆ ตามลำดับ ไปจนถึงปิดสวิตช์ไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนสุดท้าย
ในการปิดคอมพิวเตอร์จำลองบนโปรแกรม VMware ไม่ว่าจะเป็นลีนุกซ์หรือวินโดวส์ เราไม่ควรจะปิดที่โปรแกรม VMware โดยตรง เพราะจะทำให้ข้อมูลภายในระบบเสียหายได้
ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงการประยุกต์ใช้งาน VMware ในลักษณะหนึ่งเท่านั้น ยังมีการประยุกต์ใช้งานอีกหลายๆ ลักษณะที่ VMware กลายเป็นพระเอก เช่น ถ้าซอฟต์แวร์เฮาส์แห่งหนึ่ง มีคอมพิวเตอร์ 2-3 เครื่อง ที่ไม่ได้ต่อเข้ากันเป็นเครือข่าย แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมซึ่งทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่ลูกค้า ในการทดสอบโปรแกรมแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่ใช้ VMware เข้ามาช่วย โดยการใช้ VMware สร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมาหลายๆ ชุด แล้วมองส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการหลักของเครื่องเป็นแม่ข่าย (Host หรือ Server) แล้วใช้คอมพิวเตอร์จำลองเป็นเครื่องลูกข่าย (Client)
เพียงเท่านี้ซอฟต์แวร์เฮาส์ดังกล่าว ก็สามารถทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่ลูกค้าสั่ง ทำบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์จริงๆ ได้แล้ว


การจับภาพหน้าจอบน VMware
- ในระหว่างติดตั้งลีนุกซ์ ถ้าต้องจับภาพหน้าจอ สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl + Alt พร้อมกัน จากนั้นใช้เมาส์เลือกที่หัวข้อ File และ Screen Capture จากเมนูของ VMware ตามลำดับ VMware จะทำการจับภาพ แล้วแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์สำหรับใส่ชื่อแฟ้มรูปภาพที่เราจะจัดเก็บบนจอภาพทันที


ที่มา : 1. http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2002&ofsm=6&id=CTM&g3s=3&halfmonth=0&mag_no=191&element_id=404959&mag_g=A&g3as=2
2. http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2002&ofsm=6&id=CTM&g3s=3&halfmonth=0&mag_no=191&element_id=404959&mag_g=A&g3as=2&g3ass=&g3tmp=&g3col=&mypage=&page=2



Adobe Captivate v 3.0.0.580



การติดตั้ง Adobe Captivate v 3.0.0.580
ขั้นตอนการติดตั้ง
สามารถอ่านได้ที่
http://www.ccat.ac.th/data/Captivate.pdf
การเปิดใช้งานโปรแกรม Adobe Captivate 3.0
การเรียกใช้งาน Adobe Captivate 3.0
คลิกที่ Start, Programs, Adobe, Adobe Captivate 3
ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe Captivate
- Open a recent project แสดงไฟล์ล่าสุดที่เคยบันทึกไว้ในโปรแกรม เปิดไฟล์ที่เคยบันทึกไว้
- Record new project (สำหรับการเริ่มต้นใช้งานแนะนำให้ใช้งานตรงส่วนนี้) สำหรับสร้าง project
บันทึก movie (จับหน้าจอภาพ)
- Getting started tutorials แนะนำข้ันตอนการสร้าง Project ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate เริ่ม
ต้ังแต่การบันทึก การแก ไขตกแต่ง การส่งออก การนำเข้าไฟล์เสียงการสร้างส่วน ตอบโต้ การใส่ลูกเล่นเพื่อ
เพิ่มความน่าสนใจ ตามลำดับ


เริ่มต้นใช้งาน Adobe Captivate 3.0
- เป็นที่ทราบกันแล้วว่าจุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 มีความสามารถในการ สร้าง
Movie ได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มแรกให้คลิกที่ Record or create a new project จะ ปรากฏหน้าต่าง New
project options




Software Simulation หมายถึงว่าจะเป็นการจำลองการจับหน้าจอภาพตามที่เรากระทำโปรแกรมจะ
ทำการเก็บภาพหน้าจอตามที่เรากระทำกับ Mouse หรือกระทำอื่นใดกับจอภาพ ในส่วนที่โปรแกรมให้เรา
เลือกจากรายการที่กำหนด มีหลักการทำงาน ดังนี้
- Application สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ ของโปรแกรมที่เราต้องการจะทำการบันทึกการทำงานของหน้าจอ
- Custom size สำหรับการ Capture movie แบบกำหนดขนาดหน้าจอภาพได้
- Full Screen สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ
- การสร้างผลงานสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Captivate รวมถึงการสร้าง Movies ควรเริ่มต้นโดย
> วางแผนการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Movie) โดยออกแบบ Storyboards, Scripts หรือใน รูปแบบอื่น
ตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งานในการจับจอภาพเคลื่อนไหว (Movie preferences)
> บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่กระทำกับจอภาพ การคลิกกับวัตถุใด ๆ บนจอภาพ โปรแกรมจะ บันทึกไว้ 1 สไลด์ ในการคลิกแต่ละครั้ง หรือจะนำเข้าไฟล์ภาพเคลื่อนไหวก็ได้ เพิ่มข้อความ รูปภาพ เสียง ข้อความเคลื่อนไหว และรายละเอียดส่วนอื่น ๆ แก้ไขปรับปรุง Timeline ทดลองดูภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น

- กำหนดเงื่อนไขในการสร้าง E-Learning และสร้างสไลด์คำถามใน (เติมคำในช่องว่าง, แบบเหมือน, จับคู่ , ตัวเลือก, ตอบสั้นๆ ,ถูกผิด)
เลือกจัดเก็บรูปแบบในการเผยแพร่ (Publish)
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต EXE
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Flash และ เรียกใช้โดย HTML
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต zip เพื่อใช้เป็น SCORM
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Word หรือ Handout (คู่มือการใช้งาน)
จัดเก็บและเผยแพร่ ไปบนเว็บไซต์ ด้วย FTP ส่ง Movie โดยใช้ E-mail
- การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 Step by Step
Step 1 คลิกที่ Record or create a new project
Step 2 จะปรากฏหน้าต่าง New movie options ให้คลิกที่ Record or create a new project


เมนูการใช้งาน New Project Options
- Software Simulation ใช้สำหรับจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอภาพ แสดงออกมา ในรูปแบบของสถานการณ จำลอง
- Application สำหรับการจับภาพของหน้าต่างที่เปิดใช้งานอยู่ (Active window) Custom size สำหรับการจับภาพหน้าจอที่กำหนดขนาดของขอบเขตได้ Full Screen สำหรับการจับภาพทั้งจอภาพ
- Demonstration หมายถึง โปรแกรมจะจับหน้าจอตามการกระทำที่เกิดขึ้น มีการ เคลื่อนไหวของเมาส์ มีกรอบโต้ตอบกับผู้เรียน
- Assessment Simulation โปรแกรมจะบังคับให้ผู้เรียนกระทำตามที่ได้บันทึกหน้าจอไว้ เช่นถ้ามีการบันทึกการคลิกเมาส์ไว้ เมื่อเล่นมาจนถึงช่วงที่ต้องคลิกเมาส์โปรแกรมจะหยุด เล่นจนกว่าจะมีการคลิกเมาส์และหากคลิกผิดที่จะมีกล่องข้อความขึ้นมาบอกว่าต้องคลิก ที่ใดเมื่อผู้เรียนคลิกเมาส์ถูกต้องโปรแกรมจะเล่นต่อไปจนกว่าจะมีเหตุการณ์ใหม่เกิดขึ้น
- Training Simulation หมายถึงการจับหน้าจอแบบการฝึกอบรม โปรแกรมจะทำการบันทึก หน้าจอทั้งหมด เมื่อมีการเล่นโปรแกรมจะแสดงกล่องข้อความโต้ตอบให้ผู้เรียนทำตาม การบันทึกหน้าจอแบบนี้เหมาะสำหรับสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งนี้สามารถ บันทึกเสียงบรรยายไปพร้อมกันได้ด้วย
- Custom โปรแกรมจะให้เราเข้าไปกำหนดค่าในการบันทึกได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ไข ได้อีกในภายหลัง
- การ Capture movie หน้าจอภาพเป็นการใช้งานที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะสามารถ นำไปใช้เป็นสื่อเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย ที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนการ Capture movie หน้าจอภาพทำได้ดังนี้
1. คลิก Start, Programs, Macromedia, Adobe Captivate
2. คลิก Record or create a new movie จะปรากฏหน้าต่าง New movie options
3. คลิก Full screen เพื่อ Capture movie ovie ทั้งหน้าจอภาพ
4. คลิก OK
Monitor แสดงสถานะจอภาพที่กำลังใช้งาน
Record narration เป็นการบันทึกเสียงบรรยายพร้อมๆ กับการ Screen capture movie
Recording size บอกขนาดการ Capture movie หน้าจอภาพ
Options… เป็นการปรับแต่งเพิ่มเติม ปกติจะใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดมาให้
Record เมื่อกดปุ่มนี้จะเป็นการเริ่มบันทึกการ Capture movie หน้าจอภาพ
5. คลิกปุ่ม Record เพื่อเริ่มบันทึก การ Capture movie หน้าจอภาพ
6. กดปุ่ม บนแป้นพิมพ์เมื่อสิ้นสุดการ Capture
7. ปรากฏสไลด์ Movie (Movie Frame) ซึ่งจำนวนสไลด์จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่คลิกเมาส์
เช่น หากมีการคลิกเมาส์ 10 ครั้งก็จะได้จำนวนสไลด์เท่ากับ10 สไลด์ หรือ 10 เฟรม สไลด์
Movie (Movie Frame)
8. คลิกปุ่ม Edit เพื่อแก้ไขสไลด์
9. การปรับแต่ง Timeline
ปกติแต่ละสไลด์จะมีค่า Timeline อยู่ที่ 4 วินาที ในรูปข้างล่างจะเป็น Slide 4
(4.0s)สามารถปรับแต่งเพิ่มหรือลดค่า Slide Timeline ได้
- วัตถุที่วางบนสไลด์จะวางเรียงกันเป็นเลเยอร์(Layer) ถ้าต้องการปรับแต่ง Timeline วัตถุใดก็ให้คลิกที่วัตถุนั้นแล้วลากซ้ายขวาคลิกแล้วลากเพื่อปรับแต่ง Timeline โปรแกรมจะสร้างข้อความให้อัตโนมัติ สามารถดับเบิลคลิกเพื่อแก้ไขข้อความได้
10. การแก้ไขข้อความในสไลด์ ปกติโปรแกรมจะสร้างข้อความในสไลด์ให้อัตโนมัติ เราสามารถแก้ไขข้อความได้ โดย ดับเบิลคลิกแล้วแก้ไขข้อความเมื่อต้องการแก้ไขข้อความภายใน Text Caption ให้ดับเบิลคลิกก็จะสามารถแก้ไข
ข้อความได้
11. การลบสไลด์ การลบสไลด์ทำได้โดยคลิกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่มบนแป้นพิมพ์
12. การเพิ่มสไลด์ จุดประสงค์เพื่อทำสไลด์ไตเติล การเพิ่มสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Insert, Blank Slide หลังจากเพิ่มสไลด์เราก็ สร้าง Text animation เป็นสไลด์ไตเติลก่อนที่จะเข้าเนื้อหา เมื่อได้ Slide แล้วให้นำขึ้นไปเป็นสไลด์แรก แล้วจึงแทรก Text animation
13. การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์ การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Slid, Properties…เลือกสีพื้น หลัง สีพื้นหลังที่เลือก Text animation
14. การดูผลงานสไลด์ Movie การดูสไลด์ Movie ทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Preview เช่นเลือก Preview In Web Browser สไลด์จะโชว์เป็นภาพเคลื่อนไหวตามลำดับสไลด์ เมื่อดูผลงานเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Close แล้วบันทึกไฟล์เก็บไว้ เพื่อแก้ไขใน ภายหลัง
15. การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate คือการเก็บ ไฟล์ที่เราสร้างไว้ เพื่อประโยชน์สำหรับการแก้ไขในภายหลัง โดยโปรแกรม Adobe Captivate มีนามสกุลไฟล์ *.CP โดยวิธีการบันทึกให้ ไปที่เมนู File, Save หรือคลิกปุ่ม Save บน Main Tools Bar



การสร้างงานด้วย Blank Project
- การสร้าง Blank Project เมื่อตกลงจะได้หน้าใหม่ให้ตั้งค่าต่างดังนี้
> User defined กำหนดขนาดตามความต้องการ เช่น ตัวอย่างเลือกขนาด 800 x 600
> Preset size กำหนดขนาดตามความละเอียด (Resolution) ของจอภาพ
การสร้าง Movie ด้วยวิธีนี้จะอาศัยเครื่องมือที่อยู่ด้านล่างช่วยสร้างเครื่องมือที่สำคัญที่นิยมใช้กัน


การสร้าง Text Animation
- คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Text Animation ปรากฏหน้าต่าง New text Animation เลือก Text Animation
Effect เลือกรูปแบบการแสดงผลข้อความ
Text พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
Change font… เปลี่ยนรูปแบบ ขนาด หรือสีของตัวอักษร
- ค่าของ Options
Timing กำหนดเวลาการแสดงผลของ Movie
Loop คลิกถูกที่ Loop กำหนดให้เล่นวนซ้ำ
Transition กำหนด Effect ในการเปลี่ยนฉากแต่ละสไลด์ (Frame)
- ค่าของ Audio
Record new… กำหนดการบันทึกเสียงจาก
ไมโครโฟน
Import… นำเข้าไฟล์เสียง เช่น MP3, WAV
Settings การกำหนดค่าของเสียงที่บันทึก เลือก
ไมโครโฟน


การสร้าง Caption หรือสร้างหนังสือทั่วไป
- เมื่อสร้างสไลด์ใหม่แล้ว คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Caption ปรากฏหน้าต่าง New text Caption
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของ Caption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
พื้นที่พิมพ์ตัวหนังสือ เหมือนกับ การสร้าง text Animation


การสร้าง Rollover Caption
- เป็นการสร้างหนังสือในรูปแบบที่เมื่อแสดงผลโดยการลากเมาส์ผ่านจุดที่กำหนดจึงจะปรากฏหนังสือออกมาให้เห็น เริ่มสร้างโดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Caption ปรากฏหน้าต่าง Rollover
Caption
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของ
Caption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
เหมือนกับ การสร้าง text Animation
การสร้าางปุุ่มควบคุม
โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Button ปรากฏหน้าต่าง


การแทรก Text Entry
- Text Entry ใช้แทรกเพื่อทำกิจกรรมในระหว่างเรียนหรือเป็นการทดสอบความสามรถของนักเรียน ซึ่งเป็นการเติมคำในช่องว่าง มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างคำถามด้วย Caption
2. เลือกไอคอน Text Entry บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบใหม่ขึ้นมา
3. เลือกตำแหน่งแล้วปรับ Text Entry ให้เหมาะสม
4. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็นถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็นผิดให้ตอบใหม่
6. แทรก Bottom ควบคุม
7. จัด Time Line ให้เหมาะสม



การแทรกรูปภาพ (image)
- โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรก เมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับพื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize ze จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด
Image กำหนดขนาดของภาพหรือเปลี่ยนภาพใหม่ จาก Import
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
เหมือนกับ การสร้าง text Animation


การแทรกรูปภาพในลักษณะ Rollover image
- โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรกเมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับพื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize ze จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด


การทำ Click Box
- Click Box เป็นการทำที่เกี่ยวกับภาพและคำถามที่เกี่ยวข้องกับภาพเพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนทดลองทำหลังจากที่เรียนผ่านไป โดยการคลิกที่ภาพตามคำถามที่กำหนดให้ มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. แทรกรูปภาพที่ต้องการทดสอบความรู้ของนักเรียน ด้วยไอคอน Image
2. แทรกคำถามด้วยไอคอน Caption
3. เลือกไอคอน Click Box บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบ
เลือกเมือกคลิกเมาส์ถ้าไม่อยากให้เปลี่ยนเลือก No Action เลือก OK
4. ปรับตำแหน่งที่ต้องการให้คลิกเมาส์ที่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ถูกต้อง
6. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ผิดให้ตอบใหม่
7. แทรก Bottom ควบคุม
8. จัด Time Line ให้เหมาะสม


การแทรกแบบทดสอบ
- คลิกเมนู insert, Slide จะปรากฏหน้าต่าง Question Slide รูปแบบการ Question Slide ชนิดของแบบทดสอบที่โปรแกรมกำหนดให้มีหลายรูปแบบสามารถที่เลือกได้ตามความเหมาะสมในการสร้างบทเรียน เมื่อเลือกแบบทดสอบแล้วให้กดปุ่มสร้างแบบทดสอบ ก็จะได้หน้าต่างใหม่สำหรับสร้าง
- แบบทดสอบดังนี้
ชื่อชุดแบบทดสอบ
คำถามแต่ละข้อ
กำหนดคะแนนในแต่ละข้อ
คำตอบพร้อมเลือกข้อที่ถูก
กำหนดให้ถูกข้อเดียวหรือหลายข้อ
กำหนดให้เป็น A B C หรือ a b c
กำหนดรายละเอียดข้อสอบ
การกำหนดรายละเอียดข้อสอบเพื่อนำออกไปใช้ประโยชน์ต่อไป


การส่งออก (Publish) ไฟล์ *.CP
1. เปิดไฟล์ *.CP ที่เคยสร้างไว้แล้ว
2. คลิกเมนู File, Publish จะปรากฏหน้าต่าง Publish รูปแบบการ Publish
ตัวอย่าางนี้เลือก Publish เป็น Flash (SWF)และ HTML หลังจากที่ Publish ก็จะได้ ไฟล์ 2 ไฟล์ คือ
.SWF กับ .HTML
Flash (SWF) ส่งออกเป็น Flash movie File (.swf) สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์ Adobe Connect
Enterprise ส่งออก Online บนอินเทอร์เน็ต
Standalone ส่งออกเป็นไฟล์ *.exe สำหรับสื่อเรียนรู้เปิดดูได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม E-Mail
ส่งออกเป็น E-Mail
Print ส่งออกเป็นใบปลิว (ส่งออกโปรแกรม Microsoft Word) FTP ส่งออกเป็น File Transfer Protocal
Output Options
Zip File ส่งออกเป็นไฟล์ *.ZIP ซึ่งสามารถนำเข้าบทเรียนออนไลน์ใน Moodle ในรูปแบบ Scrom
Full screen ส่งออกแบบเต็มจอภาพ เมื่อเลือกเพิ่ม
Export HTML ส่งออกเป็นไฟล์ *.HTML จะได้ทั้งไฟล์ที่เป็น .SWF กับ .HTML
Generate autorun for CD สร้างระบบ autorun สำหรับแผ่น CD
Flash Version เป็นการเลือกรุ่นของโปรแกรมเล่นไฟล์ Flash
Project Information
โดยเลือก Preferences สำหรับตั้งค่าต่างก่อนที่จะนำออกไป จะปรากฏหน้าต่างใหม่ให้ตั้งค่า Preferences แสดงข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่ส่งออก เช่น ขนาดของการแสดงผล (Resolution), จำนวนสไลด์ท้ังหมด (Slides), การใส่เสียงประกอบสไลด์ (Slide with audio) คุณภาพของเสียง (Audio Quality), e-learning Output, แถบควบคุม Movie (Playback Control) Preferences… การกำหนดรูปแบบการส่งออก เพิ่มเติม
Standalone ส่งออกเป็ นไฟล์ *.exe
ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่เป็นลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะให้นักเรียนนักศึกษาสามารถที่จะนำไปศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
1. เลือกเครื่องมือ Publish แล้วเลือก Standalone เมื่อทำเสร็จสามารถที่ใช้งานได้เลยโดยเลือกเปิดเล่นจากไฟล์ที่สร้างขึ้นมา
2. ทำเหมือนกันทุกๆ หน่วย หรือที่มีอยู่จนหมดทุกงานเพื่อที่จะสร้างเมนูสำหรับใช้งานให้ได้งานทั้งหมด
3. เลือกเมนู File แล้วทำภาพ
4. จะได้หน้าต่างใหม่ดังภาพแล้วทำตามได้เลย
5. เลือกรูปแบบเมนู
6. สร้างเมนูที่หน้าแรกของงานที่นำเสนอ
7. จะได้หน้าต่างสำหรับตั้งชื่อแผ่นซีดี แล้วก็กด Finish
8. จะได้หน้าต่างสำหรับปรับแต่งเมนูให้เหมาะสม
9. เมื่อปรับแต่งเสร็จให้เลือกเครื่องมือ Export เพื่อนำไปใช้งานจริง
10. เมื่อเกิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้ต้ังชื่อและเลือก Folder ที่จะบันทึก แล้วกด Finish
11. จากนั้นให้ทดลองทดสอบว่างานที่ทำเสร็จสามารถใช้งานได้หรือไม่
12. เมื่อตรวจสอบแล้วก็ให้นำงานทั้งหมดใน Folder นั้น เขียนลงในแผ่นซีดีเพื่อนำไปใช้งานจริง



การบันทึกเพื่อนำไปใช้กับ Moodle
- แต่ถ้าต้องการนำเข้าในโปรแกรม Moodle เพื่อสร้างบทเรียนออนไลน์ ในลักษณะที่เป็น Scorm จะต้องเสร็จค่าให้เป็น Scorm ด้วยตามภาพ และเลือก Publish ให้ Zip files
เลือก SCORM
เลือกการให้คะแนน
เลือกบีบไฟล์
คลิก publish
เมื่อกำหนดค่าหมดแล้ว ก็กด Publish โปรแกรมจะทำการบันทึกไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด
เมื่อ Publish เสร็จสามารถที่ดูงานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ได้โดยกดปุ่ม View Output งานที่เสร็จนั้นก็
จะแสดงผลให้ดูได้เลย


การนำบทเรียนที่สำเร็จใช้ร่วมกับ โปรแกรม Moodle เพื่อเป็ น E_learning
- สามารถที่จะทำได้โดยเปิดบทเรียน E_learning ที่สร้างไว้ก่อนแล้วได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Internet Explorer หรือตัวไหนก็ได้ที่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้
2. เลือกรายวิชาที่จะสร้างบทเรียนแล้วเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ที่สามารถแก้ไขงานได้
3. เข้ารายวิชาแล้วให้เริ่มแก้ไขงาน
4. เลือกเพิ่มแหล่งข้อมูล เลือกแบบลิงค์ไฟล์หรือเว็บไซด์
5. จะมีหน้าต่างใหม่ให้เลือก
ชื่อหัวข้อที่จะให้เรียน
ถ้าไม่มีไฟล์ให้อัพโหลดไฟล์ที่สร้างเสร็จเข้า
เลือกไฟล์หรือ url ที่ต้องการ
6. เลือกหรืออัพโหลดไฟล์ เพื่อนำไฟล์ที่สร้างเสร็จแล้วเข้ามาใช้งาน
7. จะได้หน้าต่างใหม่ให้เลือกไฟล์เข้ามาได้
8. เมื่อเลือกอัพโหลดไฟล์นี้จะได้หน้าให้เลือกไฟล์
9. จะกลับมาที่หน้าให้บันทึกการเปลี่ยนแปลง
10. เมื่อบันทึกเสร็จก็สามารถที่จะแสดงผลงานผ่านหน้าเว็บไซด์ได้เลยโดยคลิกที่ชื่อของงาน
เมื่อเสร็จแล้วสามารถที่จะเพิ่มบทเรียนอื่นในทำนองเดียวกัน แต่ถ้าหากบทเรียนมีบททดสอบด้วย
ให้ใช้วิธีนำเข้าโดยการเพิ่มกิจกรรมแล้วเลือก Scrom :ขั้นตอนการนำเข้าคล้ายๆ กัน

ที่มา : http://www.ccat.ac.th/data/Captivate.pdf